top of page
  • Black Facebook Icon
  • Black Instagram Icon
  • Youtube
  • Black Pinterest Icon

เครื่องถ้วย 'คร๊าก' ภาชนะจีนชื่อแปลก..ที่พบในไทย!!

  • รูปภาพนักเขียน: Artemis
    Artemis
  • 26 ต.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 29 พ.ย. 2566

เครื่องถ้วยคร๊าก (Kraak Ware) เป็นชื่อเรียกเครื่องลายครามจีนที่ผลิตขึ้นในสมัยหมิง (ค.ศ. 1368-1644) โดยสันนิษฐานว่าชื่อนี้มาจากการเพี้ยนของคำเรียกชื่อเรือ ‘คาร์แร๊กส์’ (Carracks) เรือของโปรตุเกสที่เดินทางมาจีน ด้วยเส้นทางทะเลเมอร์ดิเตอเรเนียน ในช่วงเรเนซองส์ และเป็นออเดอร์สำคัญของเนเธอร์แลนด์ด้วย


เครื่องถ้วยคร๊ากมีจุดเด่นอยู่ที่สไตล์ที่โดดเด่นและเป็นเอกลัษณ์ โดยมีลักษณะดังนี้

  • ส่วนใหญ่จะเป็น ‘เครื่องลายครามโคบอลท์’ ซึ่งสีโคบอลท์เป็นสีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยหมิง

  • มีการแบ่งออกเป็นกรอบช่อง (Panels) โดยแต่ละช่องจะมีลวดลายที่แตกต่างกันออกไป

  • รูปทรงปากชามมักเป็นทรงเครื่องหมายปีกกา หรือจะดูว่าเป็นกลีบดอกบัวก็ได้เช่นกัน

นอกจากจาน ชามและแจกันแล้ว เครื่องถ้วยคร๊ากยังสามารถแบ่งลักษณะได้เป็น 2 รูปทรงคือ แบบของถาชนะจีน และแบบพิเศษที่เรียกว่า “Klapmuts’ หรือชามซุปนั่นเอง


ในประเทศไทยได้มีการค้นพบเครื่องถ้วยคร๊ากในหลายพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ อยุธยา เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช โดยพบทั้งเครื่องถ้วยคร๊ากแบบถาชนะจีนและแบบชามซุป

ตัวอย่างเครื่องถ้วยคร๊ากที่พบในไทย เป็นรูปชามที่มีลวดลายนักศึกษาเต๋า (Scholar) และกวาง และนกกระเรียน ที่เป็นลายนิยมในช่วงจักรพรรดิว่านลี (ค.ศ. 1573-1620)


เครื่องถ้วยคร๊ากเป็นตัวอย่างของเครื่องลายครามจีนที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกในสมัยหมิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับโลกตะวันตกในยุคนั้น

นอกจากนี้ เครื่องถ้วยคร๊ากยังเป็นเครื่องลายครามที่มีความงดงามและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องถ้วยคร๊ากที่พบในไทย ซึ่งมีอายุย้อนไปได้ถึง 500 ปี


  • Klapmuts เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า ‘แมวน้ำ’ ในภาษาดัตช์ ดังนั้นเวลาไปตามหาชามที่ เนเธอร์แลนด์ ก็อย่าไปเรียกชื่อผิดเข้าล่ะ เพราะคุณจะได้แมวน้ำกลับบ้านมาด้วย!!!

รูปตัวอย่างเป็น ชามคร๊ากส์ที่พบในไทย ลวดลาย นักศึกษาเต๋า (Scholar) กวาง และนกกระเรียน ที่เป็นลายนิยมในช่วงจักรพรรดิว่านลี












Comments


bottom of page